Saturday, May 10, 2008

ใครคือจีนแต้จิ๋ว?

เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะแยกว่าใครเป็นใคร?
ระหว่าง คนไทย-คนลาว-คนฟิลิปปินส์,
คนสวีเดน-คนนอร์เวย์-คนฟินแลนด์,
คนเนปาล-คนอินเดีย-คนศรีลังกา,
คนจีน-คนเกาหลี-คนญี่ปุ่น
เพราะบุคลิกลักษณะภายนอกของคนแต่ละกลุ่มนั้นคล้ายคลึงกันมาก
จึงมักมีเรื่องเล่าล้อกันเล่นถึงวิธีจำแนกคนแต่ละเชื้อชาติให้ได้ฟังกันอยู่บ่อยๆ
เช่น การบอกใครเป็นใคร
ระหว่างลูกหลานไวกิ้ง 3 ประเทศ
คือ สวีเดน นอร์เวย์ และฟินแลนด์
มีวิธีง่ายๆ คือ "ให้นำคนทั้ง 3 ชาติเข้าไปไว้ในคอกแกะ อันดับแรกที่วิ่งออกมาเป็นคนสวีเดน
อันดับ 2 คือคนนอร์เวย์
อันดับ 3 คือแกะ"

และเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น
สำหรับการแยกแยะที่เล็กลงไป
ว่าในคนชาติเดียวกันนั้นว่าเขาเป็นคนถิ่นใด?
กลุ่มตัวอย่างที่ใกล้ชิดและคุ้นเคยที่สุดก็คือ "คนจีน"
ซึ่งที่จริงคือลูกหลานจีนโพ้นทะเล
เราท่านจะทราบได้อย่างไรว่า
คนจีนที่อยู่ข้างบ้านท่าน
คนจีนที่เป็นเพื่อนร่วมงานของท่าน
คนจีนที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นวงศาคณาญาติกับท่าน
คนจีนที่เป็น...
เขาเหล่านั้นเป็นจีนท้องถิ่นใด?
แต้จิ๋ว
ไหหลำ
ฮากกา (แคะ)
กวางตุ้ง
หรือฮกเกี้ยน
(คนจีน 5 ถิ่นที่มีจำนวนมากในประเทศไทย) ฯลฯ

หรือในมุมกลับกันหากไปถามลูกหลานจีนในเมืองไทยว่า
ตนเองเป็นคนจีนถิ่นใด?
มีความแตกต่างกับจีนถิ่นอื่นอย่างไร?
หลายท่านอาจคิดถึงสิ่งที่ช่วยตอบคำถามในเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้นคือ
"ภูมิลำเนาเดิม-ภาษา"

โดยเฉพาะคำถามแรก
คนจำนวนมากจะบอกได้ว่า
ตนเองเป็นจีนถิ่นไหนอย่างสบาย
จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ
เช่น คนจีนไหหลำมาจากเกาะไหหลำ
คนฮกเกี้ยนมาจากมณฑลฮกเกี้ยน (หรือฟูเจี้ยน)
คนแต้จิ๋วมาจากเมืองแต้จิ๋ว และซัวเถา เป็นต้น


แต่ลูกหลานจีนบางครอบครัว คำว่า
"น่าจะเป็น...(แต้จิ๋ว, ไหหลำ, กวางตุ้ง ฯลฯ)"
อาจเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะข้อมูลบางส่วนตกหายไประหว่างวันเวลาแล้ว

ส่วนปัจจัยเรื่องของ "ภาษา"
วันนี้ความสามารถในการใช้ "ภาษาถิ่น"
ของหลายครอบครัวกำลังลดลง
ลูกจีนที่สามารถ ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ได้เริ่มมีจำนวนลดลง
บางคนเหลือแค่ฟังออก พูดได้
เขียน-อ่านไม่ได้

หรือบางคนฟังพอเข้าใจแต่พูดไม่ได้

จนถึงขั้นแม้แต่ฟังไม่ได้ก็มี


แม้จะมีโรงเรียนสอนภาษาจีนมากมายในประเทศไทย แต่ภาษาที่สอนนั้นเป็นภาษาจีนกลาง
หรือภาษาราชการของคนทั้งประเทศจีน
เท่าที่ผู้เขียนทราบยังไม่มีโรงเรียนสอนภาษาแต้จิ๋ว
ภาษาฮากกา ภาษาไหหลำ หรือภาษาฮกเกี้ยน ในประเทศไทย มีเพียงภาษากวางตุ้งเท่านั้น ที่มีการเปิดสอนอยู่บ้าง

ส่วนคำถามถึงความแตกต่างระหว่างถิ่นของตนเอง
กับจีนถิ่นอื่นๆ นั้น อย่าว่าแต่คนเชื้อสายอื่นๆ เลย
แม้แต่คนจีนด้วยกันเอง
หรือคนถิ่นนั้นๆ เอง
ก็ยังยากจะหาคำอธิบายให้กระจ่างแก่ตนเอง
เพราะในความแตกต่างของภูมิลำเนา ภาษา ของแต่ละถิ่น แต่ภาพวัฒนธรรมประเพณีของจีนในเมืองไทย
ที่ปรากฏคลับคล้ายคลับคลึงกัน
เช่น การดื่มชา
การไหว้เจ้าในวันตรุษวันสารท
การไหว้บรรพบุรุษในวันเช็งเม้ง
การใช้สีแดงในงานมงคลและสีขาวในงานศพ ฯลฯ
แต่เมื่อถึงวันตายของบรรพชน
มีการเชิญพระจีนมาสวดกงเต๊ก
หากพอครบ 7 วัน กลับใช้วิธีเผาศพแทนการฝัง
หรือขณะที่ไหว้เจ้าในวันตรุษสารท
หากลูกหลานจีนจำนวนไม่น้อยยังไปวัดทำบุญตักบาตร
นอกจากนี้แม้หลายบ้านมีตีจูเอี๊ยะ (เจ้าที่แบบจีน) อยู่ที่ชั้นล่าง แต่ชั้นบนกลับมีห้องพระแบบไทย และมีศาลพระภูมิอยู่หน้าบ้าน ฯลฯ

เป็นความเหมือนอันเนื่องจากลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และศาสนาพุทธมหายาน-ดีเอ็นเอจากบรรพชน
ผสมกับ ดิน น้ำ อากาศของสยามประเทศ บ่มเพาะจนปรากฏเป็นภาพแห่งวิถีชีวิตลูกหลานจีนในเมืองไทยอย่างที่เห็น

อย่างไรก็ตาม ภาพของกิจกรรมที่ดูเหมือนเหล่านี้
มีความแตกต่างทางด้านโลกทรรศน์
พื้นฐานความคิด จิตวิญญาณ ฯลฯ
ของถิ่นผสมผสานอยู่ด้วย
นิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกุมภาพันธ์
เดือนที่มีเทศกาลสำคัญ
(ตรุษจีน และหยวนเซียว) ของคนจีน
จึงขอประเดิมเรื่องราวของ "จีนแต้จิ๋ว"
จีนโพ้นทะเลกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย
ให้อ่านกันอย่างต่อเนื่อง
โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารภาษาจีน และจากการสอบถามคนจีนแต้จิ๋วในเมืองจีน-เมืองไทย
กลั่นกรองเป็นบทความชื่อว่า
"แต้จิ๋ว: จีนกลุ่มน้อยผู้ยิ่งใหญ่"
ของ อาจารย์ถาวร สิกขโกศล
ดังข้อความบางส่วนของบทความนี้
ที่อธิบายเขียนความแตกต่างของคนแต้จิ๋วไว้ว่า

"ทั่วโลกยอมรับว่าคนจีนขยัน
ประหยัด เชี่ยวชาญธุรกิจการค้า จนมีสมญาตามที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงขนานให้ว่า "พวกยิวแห่งบูรพทิศ"
แต่ปัจจุบันในประเทศจีนยกให้
คนแต้จิ๋วเป็น "ยิวแห่งประเทศจีน"...
จีนแคะเป็นคนยึดมั่นในอุดมการณ์ "ยอมหักไม่ยอมงอ"
แต่จีนแต้จิ๋ว "ไม่ยอมงอไม่ยอมหัก หนีไปตั้งหลักแล้วกลับมาเอาคืน"
เรื่องเงินทองและการค้าจีนแต้จิ๋วมักจะยอม "เสียกำได้กอบ"
แต่จีนแคะ "ไม่ยอมเสียกำและไม่ยอมเสียกอบ"..."

ซึ่งต้องเรียนว่าสำหรับท่านผู้อ่าน
ที่เป็นลูกหลานจีนแต้จิ๋ว
โปรดหาซื้ออ่านเพราะบทความนี้
และตอนต่อๆไปที่จะลงอย่างต่อเนื่องในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" จะทำให้ท่านยึดอกภูมิใจกับความเป็นจีน
"แต้จิ๋ว" ของตนเองได้โดยมีเหตุผลรับรอง
ทำให้ท่านรู้จักกับความเป็น "แต้จิ๋ว"
ในตัวเองและบรรพบุรุษมากขึ้น
ส่วนลูกหลานจีนถิ่นอื่น
และคนเชื้อสายอื่นๆ ได้โปรดช่วยอุดหนุน
ด้วยบทความนี้คงช่วยในการวิเคราะห์
กลับไปสู่เชื้อสายของแต่ละท่านได้บ้าง
หรืออย่างน้อยที่สุดคงช่วยให้เข้าใจ
เพื่อนชาวจีนแต้จิ๋วของท่านได้ไม่มากก็น้อย
เป็นการรู้จักเข้าใจกันจริงๆ
แบบที่เขาเป็น
ไม่ใช่แบบที่สังคมพยายามทำให้เป็น

โดย: วิภา จิรภาไพศาล
ที่มา: นิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม"วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10919

Thursday, May 8, 2008

มานับญาติกัน

การนับญาติของคนจีน
มักทำให้ลูกหลานจีนในไทยงงเสมอๆ
เพราะเด็กๆ ก็จะงง
โดยเฉพาะครอบครัวที่มี
มีญาติพูดกันหลายสำเนียง
เช่น ข้างพ่อเป็นจีนแคะ
ข้างแม่เป็นแต้จิ๋ว
แต่ยังไงๆ ก็เป็น กากีนั้ง (แต้จิ๋ว) เหมือนกัน
กากีนั้ง แปลว่า คนกันเอง
Sino-Thai ในเมืองไทย
ส่วนมากจะเป็นจีนแต้จิ๋ว
แต่สำหรับผม ถือว่าเป็นจีนแคะ
สังเกตจากการเรียกญาติเป็นภาษาแคะ
แต่อาม่า ที่เป็น แม่ของแม่
ดันเป็นแต้จิ๋วเพียงคนเดียว
แถมยังอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่เด็กๆ
เลยทำให้ผมไม่สามารถพูด
ภาษาจีนแคะกับแต้จิ๋วได้
เพราะอาม่าใช้สองสำเนียงตลอดเวลา
ทำให้พอฟังได้ แต่แยกและพูดไม่ออก
ว่าเป็นสำเนียงของจีนอะไร
และ่ด้วยตั้งแต่เด็กจนโต
ครอบครัวมิได้อยู่ในชุมชนของคนจีน
เช่น เยาวราช หรือ สำเพ็ง
ทำให้ภาษาหลักที่ใช้ ก็คือภาษาไทย

ครอบครัวของผม(จีนแคะ)
พ่อ เรียกว่า ปะป๊า หรือ ป่าป๊า
แม่ เรียกว่า หมะม้า แต่เราเรียกแม่ ว่า แมะแม้
พี่ชาย เรียกว่า ก่อก๊อ หรือ ก๊อ
พี่สาว เรียกว่า เจ่เจ๊ หรือ เจ๊
ปู่และตา เรียกว่า อา๊ก๊ง
ย่าและยาย เรียกว่า อาม่า
ทวดชาย เรียกว่า อากุ๊งไท้
ทวดหญิง เรียกว่า อาไท้
ลุง เรียกว่า อาปัก ป้าสะใภ้ เรียกว่า ปักแม้
ป้า เรียกว่า อากู๊
อาชาย เรียนกว่า อาสุก
อาหญิง เรียกว่า อากู๊
น้าชาย เรียกว่า อาคิ้ว น้าสะใภ้ เรียกว่า คิ้วแม้
น้าผู้หญิง เรียกว่า อาหยี

ส่วนคนจีนแต้จิ๋ว
พ่อ เรียกว่า ป่าป๊า ป๊ะป๋า ป๊ะป๊า แล้วแต่จะเรียก
แม่ เรียกว่า หม่าม้า
พี่ชาย เรียกว่า อาเฮีย
พี่สาว เรียกว่า อาเจ๊
น้องชาย เรียกว่า อาตี๋
น้องสาว เรียกว่า อาหมวย
ลูกเขย เรียกว่า เกี้ยไส่
ลูกสะใภ้ เรียกว่า ซิมปู๋
ถ้าแต่งงานได้ลูกสะใภ้เข้าบ้าน จะเรียกว่า ฉั่วซิมปู๋
น้องๆ เรียก พี่เขยว่า อานึ้ง
เรียกพี่สะใภ้ว่า อาซ้อ
เรียกน้องเขยว่า ม่วยไส่
เรียกน้องสะใภ้ว่า อากิ๋ม
ปู่ เรียกว่า อา๊กง
ตา เรียกว่า หวั่วกง แต่หลายบ้านนิยมเรียกสั้นๆว่า อากง
ย่า เรียกว่า อาม่า เหมือนจีนแคะ
ยาย เรียกว่า หวั่วม่า เรียกสั้นๆว่า อาม่า
ทวดชาย เรียกว่า อากุ๊งไท้
ทวดหญิง เรียกว่า อาไท้
ลุง (พี่ช่ยพ่อ) เรียกว่า อาแปะ คนไทยชอบเรียกเพี้ยน เป็น อาแป๊ะ
ลุง (พี่ชายแม่หรือญาติข้างแม่่่) เรียกว่า อากู๋
อากู๋ แต่งงาน เรียกภรรยาของอากู๋ว่า อากิ๊ม
น้องชายแม่ ก็เรียกว่า อากู๋ เช่นกัน
อา (น้องชายพ่อ) เรียกว่า อาเจ็ก คนไทยมักเรียกเพี้ยน เป็น เจ๊ก
ป้าสะใภ้ เรียกว่า ปักแม้
พี่สาวหรือน้องสาวแม่ เรียกว่า อาอีู๊๊
พี่สาวหรือน้องสาวพ่อ เรียกว่า อาโกว
ลูก เรียกว่า เกี้ย
หลาน เรียกว่า ซุง
ส่วนคำว่า อา คล้ายเป็นคำสุภาพ
มักใช้นำหน้าคำเรียกคนหรือชื่อคน

Wednesday, April 23, 2008

จีนแคะ

จีนแคะเมืองจีนกับจีนแคะในเมืองไทย
มีความแตกต่างกันหลายประการ
ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น แต่ประเพณีบางอย่างก็ได้สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย
แม้จะไม่หวือหวา แต่ก็ยังคงเดิมอยู่
ที่ช่วยกันรักษาความภาคภูมิใจ
ต่อมาคำว่า “จีนแคะ” ต้องให้ความหมายเพื่อเข้าใจสักเล็กน้อย
คำว่า “แคะ” ตรงกับคำว่า “เค่อ” ในภาษาจีนกลาง
แปลว่าแขกหรือผู้มาเยือน
ซึ่งความหมายนี้มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์
ที่เล่าต่อกันมาหลายชั่วคน
เหตุที่เรียกว่า “แขก” นั้น
เป็นคำที่ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน
ใช้เรียกคนจีนที่ลงมาอาศัยอยู่ทางใต้
ตัองขอท้าวความเดิมว่า ในสมัยก่อนที่ราชวงศ์ฮั่นจะแตกนั้น คนจีนแทบจะไม่ได้อยู่ในเขตตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงเลย
ปล่อยให้แขก “พวกฮวน” อันหมายถึง ชนชาติส่วนน้อย
เช่นพวกจ้วง ไต เวียดนาม และอื่น ๆ อาศัยอยู่ ดังนั้นทางราชการจีนในเวลานั้นจึงถือเอาสถานที่ห่างไกล
เช่นนั้นเป็นที่สำหรับเนรเทศชาว “ฮั่น” ที่มีความผิด หรือไม่ก็พวกกบฏที่ต้องการส้องสุมกำลัง
ต่อต้านราชวงศ์ก็หลบมาอยู่ในบริเวณนี้
และพวกที่หนีการรังแก
ของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ทุจริตคอยรีดนาทาเร้น ก็เช่นเดียวกันเนื่องจากความรักอิสรภาพ
ดังจะเห็นได้จากการที่ในประวัติศาสตร์จีนต่อๆมา
จะมีการสะสมกำลังของกบฏทางตอนใต้
เพื่อยกกำลังไปตีเมืองหลวงที่ฉางอันบ้าง ไคฟงบ้าง
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง คนที่เป็นชนชาติส่วนน้อยต่าง ๆ
จึงเรียกคนจีนที่อพยพลงมานี้ว่า “เค่อ” หรือ “แคะ”
อันเป็นการเรียกคนแปลกหน้า
แต่เมื่อระยะเวลาผ่านมาคำนี้ก็เลือน ๆ ความหมายเดิมไป
กลายเป็นคำใช้เรียกคนจีน
กลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกลางตุ้ง
คาบเกี่ยวมณฑลฮกเกี้ยน
ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิต
เป็นของตนเองแต่พวกจีนแคะ กลับเรียกตัวเองว่า “ฮากกา” ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกัน
การกระจายของชาวจีนแคะไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ
ทำให้จีนแคะแยกออกเป็นสองกลุ่มง่าย ๆ
คือ พวกแคะลึก กับแคะตื้น


แคะลึก หมายถึง จีนแคะที่อยู่ในบริเวณที่อื่นๆ
และเป็นชนกลุ่มน้อยในชุมชนอื่น
ซึ่งก็มีความผิดแผกทางด้านภาษาที่ใช้บ้าง
แต่ก็รู้ว่าเป็นจีนแคะอยู่ สังเกตได้จากอาชีพจีนแคะนั้น
จะมีความชำนาญในอาชีพทำเครื่องหวาย
เครื่องเงิน ทอง เครื่องหนังต่าง ๆ
เช่น รองเท้า ซึ่งบางอย่างมีความชำนาญ
ที่ถ่ายทอดต่อกันมาไม่มีใครสู้ได้
ความรักอิสรภาพ ไม่ยอมอยู่ให้ใครรังแกของจีนแคะนั้น
ยังคงแสดงให้เห็นอยู่ต่อมาเป็นระยะ ๆ
แม้จะเป็นพวกที่รักความสงบ
นักปฏิวัติที่สำคัญของเมืองจีนอย่างท่านซุนยัดเซ็น
หรือ ซุนจงซัน “บิดาของประเทศจีนยุคใหม่”
ท่านเย่เจี้ยนอิงอดีตรัฐมนตรีกลาโหม
และประธานสภาประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ก็เป็นแคะเหมือนกัน
อยากทำความเข้าใจในที่นี้ว่า
คำว่าจีนแคะ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยนหรือ ไหหลำนั้น
ไม่ได้หมายถึงแค่สถานที่ หรือชื่อเเซ่แค่นั้น
แต่มีความหมายมากกว่านั้น เพราะวิถีชีวิตในสังคมจีนนั้น
จะมีการอยู่รวมกลุ่มกันเป็นหมู่บ้าน
เป็นเมืองซึ่งมีอาณาเขตพอสมควร
คนที่อยู่ในชุมชนเหล่านั้นไม่ว่าจะมีแซ่อะไรก็ตาม
จะต้องทำความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในด้านการอยู่กินประจำวัน
มีการแบ่งงานในความรับผิดชอบ
ไม่ว่าจะด้านอาชีพการรักษาปลอดภัยของชุมชน
การเสียภาษี การใช้น้ำชลประทาน
ตลอดจนการปันส่วนเครื่อง อุปโภคบริโภคในยามจำเป็น เพราะคงเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า
เมืองจีนนั้นความคงเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า
เมืองจีนนั้นความแร้นแค้นมีอยู่มาก
และสงครามก็เกิดบ่อยเหลือเกิน
ชุมชนจีนแบบนี้เองเป็นที่มา
ของคำว่าจีนแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำดังกล่าว
ซึ่งภาษาทางด้านสังคมวิทยา
ก็กล่าวว่ามีลักษณะที่เรียกว่า “Clans”
หรือจีนว่า “จู๋” ซึ่งต่างจากระบบ “วรรณะ” ของอินเดีย
แต่ก็มีเป้าหมายไม่ต่างกันนัก
ในด้านการสร้างความปลอดภัยแก่สมาชิกชุมชน
สภาพทางสังคม อย่างนี้เองที่ติดตัวชาวจีน
ที่เดินทางออกมาจากแผ่นดินแม่
มาแสวงหาทางออกของชีวิต คนจีนโพ้นทะเลเหล่านี้ก็อดไม่ได้ที่จะไปรวมกลุ่มกันขึ้นมา
พึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบที่เคยเป็นมา
ในเมืองไทยเองจะเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจน
จากบรรดาสมาคมชาวจีน
ที่อยู่นับร้อยสมาคมจีนแคะเองก็เหมือนคนจีนอื่น ๆ โดยเฉพาะชาวจีนตอนใต้ที่อพยพออกจากเมืองแม่
มายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ชาวจีนแคะนั้นอาชีพหลักตอนที่อยู่เมืองจีนนั้น
ก็คือการเกษตรกรรม
เพราะดินแดนที่จีนแคะอาศัยอยู่นั้นอยู่ในหุบเขาตอนต้นแม่น้ำ มีเมืองเหมยเป็นศูนย์กลาง
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพวกแต้จิ๋ว ซึ่งอยู่ปลายแม่น้ำ แล้วย่อมไม่อาจแข่งขันความสามารถทางการค้ากับเขาได้ ส่วนความชำนาญเฉพาะอย่างนั้นก็สู้พวกตอนเหนือ
ที่เก่งเรื่องทำเหมืองไม่ได้อีก
ฉะนั้นจึงพบว่า อาชีพของจีนแคะรุ่นแรก ๆ
ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย
จึงมักเป็นกรรมกรตามท่าเรือเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาเมื่อจีนแคะที่เป็นพวกมีความรู้ขึ้นมา
เช่นพวกหมอยาหรือพวกช่างฝีมือที่เคยผ่านโรงเรียนมาบ้าง
เดินทางเข้ามาก็ทำให้มีคนหลายอาชีพมากขึ้น
เพราะว่ากันตามจริงเมืองเหมยนั้นก็ได้
ชื่อว่าเป็นเมืองการศึกษาที่สำคัญเมืองหนึ่งของกวางตุ้ง และคนจีนแคะเองนั้นก็เป็นนักศึกษาหาความรู้ที่เก่งคนหนึ่ง แต่ก็มักจะมุ่งเป็นขุนนางจอหงวนหรือซิ่งไฉกัน
จึงไม่เก่งการค้าเท่าที่ควร


ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๑
ชาวจีนแคะกลุ่มหนึ่งที่ทำธุรกิจในเมืองไทย ๓๐ คน
ได้เข้าร่วมลงลายมือชื่อ
เพื่อทำหนังสือยื่นต่อพระยาสุขุมนัยวินิต
เพื่อขอตั้งสโมสรการค้า อย่างเป็นทางการ โดยขอให้พระยาสุขุมวินิตเป็นผู้อุปถัมภ์และบำรุงสมาคม
เมื่อได้รับหนังสือแล้ว พระยาสุขุมนัยวินิตได้นำเรื่องขึ้นกราบบังคม ทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพิจารณาโดยได้เสนอความเห็นว่า
“พวกชาติอื่น ๆ คอยดูพวกแคะอยู่เหมือนกัน
ถ้าเป็นการเรียบร้อย ก็จะเอาอย่างบ้าง”
ในการยื่นหนังสือครั้งนี้กลุ่มที่ขอตั้งได้แสดงตัว
ยืนยันความบริสุทธิ์ใจ โดยทำหนังสือว่า
ได้เลิกประพฤติตัวเป็นอั้งยี่เด็ดขาด
และให้เจ้าหน้าที่กองตระเวนไปเก็บเครื่องสัญญาต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในที่ประชุมให้หมด
ซึ่งทำให้สมเด็จฯกรมหลวงดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงพิจารณาเป็นควร
ให้ตั้งสมาคมได้เพราะการเสนอนั้นไม่ขัดต่อกฏหมาย โดยมีเงื่อนไขว่าให้ตั้งเฉพาะที่กรุงเทพฯ และให้มีสมาชิกที่เป็นจีนแคะจากเมืองจีนและบุตรจีนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองสโมสรจีนแห่งแรก
จึงได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๑
โดยใช้ชื่อว่า “สโมสรจีนกรุงเทพฯ” ที่ถูกต้องตามกฎหมายและรัฐบาลรับรองอย่างเป็นทางการ ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาที่บีบรัด “ยิวแห่งบูรพทิศ” ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้บทบาทของสมาคมการค้าจีนต่าง ๆ ซบเซาลงไปและสมาคมจีนต้องหันมาดำเนินงาน
ในด้านสังคมสงเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับกฏหมาย
และไม่ถูกทางการเพ่งเล็ง
ทำให้ความสัมพันธ์กับรัฐบาลเป็นไปโดยปกติ สมาคมจีนแคะแห่งประเทศไทยซึ่งมีนายเซียวเต็กซู เป็นนายกสมาคมคนแรกได้ดำเนินงานมาด้วยดี
นับได้จนถึงทุกวันนี้ก็ ๕๐ ปี (นับแบบจีน)
สำหรับผู้ก่อตั้งสมาคมรุ่นแรก ๆ
ที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ต้นตระกูลล่ำซำ
ต้นตระกูลห้างใต้ฟ้า เป็นต้น

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของสมาคมจีนแคะก็คือ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จมาเยือนสมาคม
ซึ่งถือเป็นเกียรติยศที่สมาคมได้รับมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ งานหลักของสมาคมจีนแคะนั้น คุณเต็กไหง่ ผู้จัดการสมาคม
ที่เป็นติดต่อกันมานานถึง ๒๖ ปี
เปิดเผยว่าเป็นงานสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือสมาชิก
โดยมีโรงเรียนจิ้นเตอะตั้งอยู่ที่ทำการของสมาคม
หลังโรงภาพยนตร์เทียนกัวเทียน
โรงพยาบาลจงจินต์อยู่ที่หัวลำโพง
โรงเรียนจิ้นเตอะนั้นเปิดสอนภาษาจีนกลาง
ปัจจุบันมีนักเรียน ๔๐๐ กว่าคน โดยสมาชิกที่ส่งลูกหลานเข้ามาเรียนจะได้ลดค่าเล่าเรียน
แต่ก็รับเด็กทั่วไปด้วยไม่จำเพาะเฉพาะสมาชิก
ส่วนโรงพยาบาลนั้นสมาชิกสมาคม
จะได้รับการลดค่ารักษา ๒๐ % ของค่ารักษาปรกติ นอกจากนั้นยังมีบริการจ่ายยาจีนฟรีแก่ผู้ที่สนใจ
ไม่เลือกว่าจะเป็นใครอีกด้วยในด้านสังคม
ทีมกีฬาฟุตบอลของสมาคมก็เคยมีชื่อเสียง
เป็นที่ติดปากของแฟนฟุตบอลมานานแล้ว
คือทีม “หวีฝ่อ” (แปลว่ารักสันติภาพ)
ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาใช้ชื่อสมาคม ฮากกา แทน คุณเต็กไหง่ให้คำชี้แจงถึงการเปลี่ยนชื่อสมาคมจีนแคะ
เป็นสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทยว่า

“คำว่าจีนแคะนี่รู้จักกันแค่เมืองไทย
ในโลกนี้ที่ไหนไหนก็เรียกว่าฮากกากันทั้งนั้น
แม้ฝรั่งก็เรียกว่าฮากกา
ก็เลยเปลี่ยนชื่อให้เข้าใจกันเวลาทำกิจกรรมอะไร” ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมฮากกาเข้ามาเนื่องจากสมาคมต่างๆ จังหวัดนั้นเดิมที่เป็นสาขาของสมาคมของกรุงเทพฯ ภายหลังได้เเยกออกไปตั้งเป็นสมาคมฮากกาของแต่ละจังหวัด ซึ่งสมาคมต่างจังหวัดที่ใหญ่มากก็อยู่ที่
ตรัง เบตง หาดใหญ่ พิษณุโลก และอื่นๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ
การเป็นสมาชิกของสมาคมนั้น
ต้องเสียค่าสมาชิกคนละ ๔๐๐ - ๕๐๐ บาทต่อปี
แต่กรรมการต้องเสียมากหน่อยคือ
เดือนละ ๓,๕๐๐ บาทต่อเดือน
โดยเฉพาะประธานกิตติมศักดิ์
ซึ่งช่วยงานของสมาคมมาโดยตลอด
อย่างคุณเกียรติ คุณจรรย์สมร วัธนเวคิน นั้น
นับได้ว่ามีส่วนช่วยงานของสมาคมด้วยดี นอกเหนือจากการดำเนินงานด้านในประเทศแล้ว
สมาคมฮากกายังมีการติดต่อกับ
สมาคมฮากกาในต่างประเทศทุกมุมโลก
ไม่ว่าในอินเดีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐ
นับพันเดินทางมาชุมนุมกัน
นับได้ว่าเป็นการชุมนุมของจีนโพ้นทะเล
ครั้งใหญ่ในเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง
เหมือนกับที่สมาคมแต้จิ๋วโลก
จัดในกรุงเทพฯ ในเวลาใกล้เคียงกัน แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบความยิ่งใหญ่ของสมาชิกแล้ว
กลุ่มแต้จิ๋วจะมากกว่า แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นความสำคัญ
และสามัคคีของชาวจีนแคะ
หรือ “ฮากกา” โดยเฉพาะในเมืองไทย
แน่นอนว่าการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคม
เพื่อทำการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตามธรรมเนียมตั้งแต่ครั้งอพยพมาจากเมืองจีนนานมาแล้ว
เช่นนี้ เป็นสิ่งที่มีความหมายให้ชุมนุมเล็ก ๆ
ซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ของเมืองไทย
ได้เป็นที่พึ่งของสมาชิก แม้ว่าปัจจุบันคนจีนรุ่นหลัง
จะกลายเป็นไทยกันหมดแล้ว
แต่ธรรมเนียมเก่าแก่เหล่านี้ก็ยังมีบทบาท
ที่จะดำเนินต่อไปอยู่และคงจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
ให้เหมาะสมกับสภาพต่อไปในอนาคต


ข้อมูลจากหนังสือ "คนจีน ๒๐๐ ปี
ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร" หน้า ๑๑๐ - ๑๑๒

สมาคมจีนแคะ “สมาคมแห่งแรกในไทย”


โดย: ธีรวิทย์ สวัสดิบุตร

Name Changes from Siam to Thailand

During this authoritarian time, the chinese entrepreneurial class was suppressed - but along with it the rest of the peasantry - in the regime's effort at depoliticization. The state-authorized version of nationalism (that actually BUILT UPON King Rama VI's work, and not a supplantation of it) was distributed through various mass-media means whereby the citizenry, which not even a century ago consisted of various ethinicities with no unified national sentiment, was succesfully united under the new-born construct of a "Thai" nation. On May 8, 1939 the Cabinet decided on the name change for the country from "Siam" to "Thailand", with only 3 ministers not in full support - Luang Pradit (Preedee Panomyong, one of the prominent leaders of the People's Party and Pibul's major rival), Luang Thamrong, and Jao Praya Sritammatibet. Preedee commented that Siam had been used since King Narai's time by Europeans and Luang Thamrong argued that there were many races in Siam not just the Tai race. But all in all the historic decision to change took 10 minutes to make!

The activities of the state during Pibul's time -- the suppression of the chinese entrepreneurial class, and the state-authorized nationalism -- resulted in, intentionally or not, the delay of the development of a progressive and independent middle class, and in the creation of an extra-political, extra-bureaucratic class of 'influential people' (Chai-anan Samuddavanija). The power these people weild today is formidable, and destructive to the democratic process in Thailand. The task of spreading this power more democratically is a daunting one that every Thai person must come together to bear.

Pibul's brand of nationalism, among other things, involved an irredentist movement, a pan-Thai expansion, and a racist program against the ethnic Chinese. The country's name change worked well with the attempts at a Pan-Thai expansion scheme that included such stints as invading Burma and Southern China to try to reclaim the land and the Tai ethnics who were living there. The irredentist movement was made against the French who were supposed to have taken the lands that were Thai's during their colonial expansion. Pibul and his main propagandaist, Luang Wichiwattakran, took a lot of ideas from Hitler, from Musolini, and from the Bushido of Japan.

Pibul's rival, Preedee Panomyong, had a vision of a more egalitarian politics. To attack the old regime on the economic front, Preedee proposed a socialization of the agricultural land and an inheritance tax, both of which were met with fierce opposition by the royalty and the aristocrats. On the education front, Preedee opened his own university, Thammasat University, to prepare the budding citizens with economic, bureaucratic, legal and social science skills needed for a new nation. He also allied himself with the business front: he renegotiated the old treaties with the West, laid foundations for a modern monetary system, supported joint governement/private businessesm, etc. Politically he allied himself with politicians from the Northeast who resented Pibul's tightly-gripped centralized power.

On the international front, the country was led, under the leadership of Pibul, into alignment with Japan in 1942. Preedee left the government when Japan invaded to become a regent for the then young King Rama VIII, and he and a royalist, Senee Pramoj, formed a resistant group called Seree Thai. With the World War, the two rivals, Pibul and Preedee, became absorbed into a bigger international picture: Preedee's civilian side of the People's Party came to be subsumed under a socialist faction, and ironically Pibul's military side came to be subsumed under a royalist faction. When the war ended, Preedee's group was launched into a favourable position thanks to its alignment with the winners of the World War: Preedee came to power. He changed the country's name back to "Siam", and in this time of postwar chaos, attempted to open up political doors for players from both extremes of the political spectrums: the anti-communist law was repealed, and the royalty who came under severe restriction under Pibun was allowed back into politics. The latter move proved detrimental for Preedee: the royalty quickly turned against him and his policies which they deemed way too radical. A rapproachment was formed instead between the royalist and old Pibun. In 1946 King Rama VIII died mysteriously of a gun shot wound to the head in his bed in the palace. A massive campaign was moved to accuse Preedee of the crime, and a coup was successfully launched to overthrow him. He fled the country, never to become involved in politics ever again -- he died in exile. After Preedee's ouster, Pibun, upon his return to power in 1947, changed the name of the country back to Thailand again, and the name remains until this day.

WORK CITED

Pasuk Phongpaichit and Chris Baker. "Thailand: Economy and Politics", New York: Oxford University Press, 1995.

Reynolds, Craig J. (editor) "National Identity and its Defenders", Melbourne: Monash Papers on Southeast Asia No.25, Center of Southeast Asian Studies, Monash University, 1991.

Skinner, G. William. "Chinese Society in Thailand: An Analytical History", Ithaca: Cornell University Press, 1957.









From Siam to Thailand

As a Thai national, I've often been asked about the names of our country. What does "Siam" mean? Why was the country's name changed? When? So I went and searched for some answers......

During the Sukothai Period, the Mongol Court's emissaries of 1282, 1293, and 1294 that were sent to summon the Thai King called the Kingdom "Hsien" (G. William Skinner, Chinese Society in Thailand: 2). Later on during the Ming Dynasty, the Chinese emissary of 1370 called the Kingdom "Hsien-lo" -- a combined term of "Hsien" for Sukothai and "Lo-hu" for Lawo Kingdom, as a recognition of Ayuthaya as the power holder of both (Skinner: 3).

Other neighbors also called the Thai Kingdom by similar names. The Khmers, one of the most ancient of all people ever lived in the area, refered to the Thais as Syamas. The same word was used by them to refer to the aborigines who lived scatteredly in the area prior to the Thais' arrival in the 13th century. The Vietnamese, the Assam, Lawa, and Mon people, the various people of modern day Myanmar and the various chinese groups of South China area -- all called the Thai by the similar sounding names of sam, siam, syam, seem, same, san, tsim, siang, syeem, seyae (Jit Poomisak, Kwam Pen Ma Kong Kum Siam). This word itself, Siam, noone really knows what it means or where it originated from. Some believe it's a sanskrit word meaning black or dark gold. Some say it's from the word "Cham," either Cham in Burma or Vietnam area.

When the European arrived, following Thailand's neighbors, they too called the area "Siam" and the occupants "Siamese". The Thais always have called themselves "tai" -- be it Red Thai, Black Thai, Big Thai, Small Thai, etc.

King Mongkut (Rama IV), upon opening the country to the Europeans, was the first to officially use "Siam" as the name of the country. He also was the one to coin up the word "Pra Siam Tevatirat" as a name for the national guardian spirit. Prior to this, there existed no such concept as "nation," and no corresponding national guardian spirit. People were either from, or belong to, a certain "Ban" (villages) or a certain "Mueng" (cities or principalities); and there were only "Phi Ban" (village guardian spirit) and "Phi Mueng" (city guardian spirit). Thus King Mongkut was the first to introduce the concept of "nation" or "state" to Thailand, and the first to try to create a national identity for the country, as a response to the encroaching Western cultures and influences.

King Mongkut's idea of a Siamese identity was to revert back to the "Tripitaka," one of the most ancient of the Theravada Buddhist teachings. Based on the Tripitaka, a King was to lead as a righteous "Dhammaraja": to uphold the Buddhist law as supreme and rule with independence, equality, fraternity, and liberty of his people in mind.

Taken from two different sources of influence, one Western (nation/state) and the other Buddhist (Tripitaka), King Mongkut sought to promote a nation of democratic Buddhist -- at least in principle if not in practice!. But his idea was not followed through by his son and successor, King Rama V, nor by his grandson after that, King Rama VI.

King Rama V's reign was full of reforms and projects, but ideological work was not prominent among them. His son, King Rama VI, made up for it. He had another idea, though, one that was quite different from his Grandfather's. The democratic aspect of his grandfather's "Buddhist Nation" based on the Tripitaka was replaced by his concept of "Nation, Religion, and King," a trinity he came up with (taken from the British trinity of Empire, God and King), coupled with the revert to the "Tripoom Pra Ruang," the most sacred book that dominated the Siamese ideology since it was authored by King Li Thai in the early Sukothai period. Tripoom pra Ruang was a mixture of Buddhist and Hindu beliefs. Full of rituals and magic, it was the book to live by from its inception, throughout the Ayuthaya period, and up until the early Bangkok period.

Why would King Mongkut (King Rama VI's grandfather) want to supplant the Tripoom Pra Ruang with the Tripitaka as an ideological base? Perhaps a combination of two reasons. First, after spending 27 years of his life in monkhood before he ascended the throne, he came to deem the Tripitaka the real, unalloyed Buddhist teaching. Second, to rid his kingdom of the "unscientific" rituals and beliefs prescribed by the Traipoom Pra Ruang would be an added "development" in the eyes of the Westerners. But King Rama VI's ideology was the one that stuck. King Rama VI struck the right chord with the Thai psyche somehow. Even at the time of the revolution that changed the form of government in Thailand (1932), the People's Party, the proponent of the Revolution, did not immediately seek to supersede King Rama VI's ideological work.

The proponent of the revolution was consisted of the bureaucrats, the military, and the educated elites (dubbed "the official class" by Ajarn Chai-anan Samuddavanija); and was supported by the mainly Chinese bourgeoisie class, who up to that time was quite weak and dependent on this official class. Nevertheless, the revolution was the beginning of the commitment to constitutionalism which changed the country from absolutism to a more plural, economically and culturally, character. Evident of this was the memberships in the appointed legislature of such outsiders as Sino-Thai businessmen, Muslim leaders from the south, Esan leaders from the northeast, etc. But lacking a strong civil society (the existing peasantry of the time was far from an organised and powerful civil group) to control the official class, a faction of the official class under the leadership of Field Marshal Pibulsongkram took over the control and created its own version of constitutionalism which was not constitutional but authoritarian/absolutist.

Sino-Thai

It is true that the majority of sino-thai in Bangkok today are from Teochew speaking family. However, Teochew is NOT to be considered as a common language in Bangkok anymore because most of sino-thai aged 40 years old or younger couldn't use Teochew to converse anymore. Standard Thai is their mother tongue and this is the only language they need to know and speak at home, in school and workplace. In other words, the Teochew in Thailand or Sino Thai in general had been successfully assimilated into Thai society in term of language.

However, in recent years, Mandarin has become one of the most favorable foreign languages among thai students (for both sino-thai or pure thai). We can find Mandarin language teaching centers everywhere in Bangkok. Please note that these students are mostly taught by language teachers imported from China, who tend to speak Mandarin with strong Beijing accent in teaching. This is contrast to the situation in Malaysia and Singapore where majority of Chinese language teachers are local people.

Thus, it is possible that the number of Mandarin speakers will overtake the number of Teochew speakers in Bangkok in the near future.